rpoyse http://rpoyse.siam2web.com/

คุณ..เสี่ยงต่อเบาหวานหรือไม่ ?

หากข้อหนึ่งข้อใดตรงกับคุณ ควรตรวจหาความเสี่ยงเบาหวาน หรือปรึกษาแพทย์
  • มีพ่อแม่ พี่น้องสายตรง เป็นเบาหวาน
  • สูงอายุ
  • น้ำหนักเกิน
  • ระดับไขมันในเลือดสูง
  • ความดันโลหิตสูง
  • เป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด
  • ระดับไขมันสะสมในร่างกายสูง   

 

 

เบาหวาน   เป็นภาวะของโรคที่เกิดขึ้นจากน้ำตาลในกระแสเลือดมีปริมาณสูงขึ้น ขณะที่เนื้อเยื่อของร่างกายไม่สามารถนำน้ำตาลนั้นไปใช้เป็นพลังงานได้ตามปกติ เมื่อมีอาการของโรคมากขึ้น  ในที่สุดน้ำตาลจะล้นออกมาในปัสสาวะทำให้สามารถตรวจพบน้ำตาลในปัสสาวะได้ ภาวะน้ำตาลในเลือดสูงเป็นระยะเวลานานจะทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนต่ออวัยวะต่าง ๆ ได้แทบทุกระบบ เช่น ตา ไต ระบบประสาท ระบบหัวใจและหลอดเลือด เป็นต้น

สาเหตุของโรคเบาหวาน

   1. กรรมพันธุ์
   2. ความอ้วน
   3. การได้รับยาบางชนิด เช่น เสตียรอยด์ ยาคุมกำเนิด
   4. โรคของตับอ่อน เช่น ตับอ่อนอักเสบ
   5. การตั้งครรภ์

ประเภทของโรคเบาหวาน


   1. เบาหวานประเภทที่ 1 มักเกิดในคนอายุน้อยกว่า 40 ปี รูปร่างผอม สาเหตุเกิดจากตับอ่อนไม่สามารถผลิตอินซูลิน หรือผลิตได้เพียงเล็กน้อย
   2. เบาหวานประเภทที่ 2 มักเกิดในคนอายุมากกว่า 40 ปี รูปร่างอ้วน สาเหตุเกิดจากตับอ่อนผลิตอินซูลินได้บ้างแต่ไม่เพียงพอหรือผลิตได้เป็นปกติ แต่มีการตอบสนองต่ออินซูลินลดลง
   3. เบาหวานจากสาเหตุอื่น ๆ  เช่น  โรคตับอ่อน โรคทางพันธุกรรม
   4. เบาหวานในหญิงตั้งครรภ์

อาการของผู้ป่วยโรคเบาหวาน
      ในผู้ป่วยเบาหวาน ระดับน้ำตาลที่สูงจะล้นออกมาในปัสสาวะซึ่งจะดึงน้ำตามมา ทำให้ผู้ป่วยมีการสูญเสียน้ำไปด้วย ผู้ป่วยจึงมีอาการปัสสาวะบ่อยและปัสสาวะมาก ปัสสาวะกลางคืน คอแห้ง กระหายน้ำ ดื่มน้ำมาก หิวบ่อย รับประทานจุ แต่น้ำหนักไม่ขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากร่างกายไม่สามารถนำน้ำตาลไปใช้เป็นพลังงานได้ นอกจากนี้ถ้าเป็นแผลจะหายยาก รวมทั้งยังพบอาการที่เกิดจากโรคแทรกซ้อนเรื้อรังของเบาหวานได้แก่  ชาปลายมือปลายเท้า ตามัว

การวินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวาน
      วินิจฉัยจากการตรวจระดับกลูโคสในพลาสม่า ดังนี้
      1.ในกรณีมีอาการของโรคเบาหวานชัดเจน ว่าเป็นเบาหวาน เมื่อระดับกลูโคสในพลาสม่ามากกว่า 200 มก./ดล.เพียง 1 ครั้ง
      2.ในกรณีที่ไม่มีอาการเลย ระดับพลาสม่ากลูโคสหลังอดอาหารครบ 8 ชั่วโมง ต้องการมากว่า หรือเท่ากับ 126 มก./ดล. 2 ครั้ง

*ระดับกลูโคสระหว่าง 110-125 มก./ดล. ถือว่า ผิดปกติมีความเสี่ยงสูงที่อาจเกิดโรคเบาหวานได้ ควรได้รับการตรวจต่อเนื่องเป็นระยะ

ผู้ที่ควรได้รับการตรวจเบาหวาน
      1.  ผู้มีอาการของโรคเบาหวาน
      2.  ผู้ไม่มีอาการ แต่อายุมากกว่า 45 ปี ควรตรวจซ้ำทุก 3 ปี
      3.  ผู้ไม่มีอาการ แต่เสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวาน
            3.1  มีญาติสายตรงเป็นเบาหวาน (พ่อ แม่ พี่น้อง)
            3.2 น้ำหนักตัวอยู่ในเกณฑ์อ้วน
            3.3 เคยแท้งหรือคลอดบุตรตายตอนคลอด
            3.4  คลอดบุตร น้ำหนักแรกคลอดมากกว่า 4 กิโลกรัม
            3.5  เคยเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์
            3.6  หญิงตั้งครรภ์ทุกราย ควรได้รับการตรวจคัดกรองเมื่ออายุระหว่าง 24-28 สัปดาห์


ด้วยความรู้ทางการแพทย์ในปัจจุบัน ผู้ป่วยเบาหวาน สามารถมีชีวิตยืนยาวเป็นปกติสุขได้
ถ้าสามารถควบคุมระดับน้ำตาลให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม

Advertising Zone    Close

Online: 1 Visits: 4,507 Today: 6 PageView/Month: 1

ด้วยความปราถนาดีจาก "สยามทูเว็บดอทคอม" และเพื่อป้องกันการเปิดเว็บไซต์เพื่อหลอกลวงขายของ โปรดตรวจสอบร้านค้าให้แน่ใจก่อนตัดสินใจซื้อของทุกครั้งนะคะ    อ่านเพิ่มเติม ...